อาชีพเสริม เลี้ยงปูนาขาย อาจรวยแบบไม่รู้ตัว




ปูนาเป็น ปูน้ำจืดชนิดที่มีกระดองเปลือกแข็งหุ้มลำตัว กระดองมีลักษณะเป็นรูปไข่ ด้านหน้าโค้งมน กลมมีตา 2 ตา สามารถยกขึ้นลงไปมาในหลุมเบ้าตาได้ มีปากอยู่ระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง เหนือเบ้าตามีปุ่มเล็ก ๆ  ข้างละปุ่ม กระดองตอนหน้า ระหว่างขอบตาแคบ และขอบบนมีหนามงอกออกมา กระดองปูนามีสีน้ำตาลดำ หรือน้ำตาลม่วง มีขาเป็นคู่ รวม 5 คู่ คู่แรกเรียกว่ากามหนี ใช้ในการจับสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร ก้ามหนีบตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย ก้ามหนีบซ้ายและขวาจะใหญ่ไม่เท่ากัน เพราะมักจะใหญ่ลลับข้างกัน สำหรับปูตัวผู้  และปูตัวเมีย ลำตัวปู ประกอบด้วย โครงสร้าง 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนนอก และส่วนท้อง ส่วนท้องมีลักษณะแผ่นกระเบื้อง เรียงต่อกันอยู่ 7 แผ่น เรียกว่าจับปิ้ง ,จะปิ้ง , ตับปิ้ง, จับปิ้งของปูเพศผู้จะมีลักษณะเล็ก จับปิ้งปูเพศเมียจะกลม กว้างใหญ่ เพื่อใช้ในการเก็บไข่ และลูกไว้ ปลายจับปิ้งจะเป็นช่องขับถ่าย






ปูนาดำ และ ปูนาห้วย  จะมีการผสมพันธ์ช่วงฤดูฝน เดือนพฤษภาคม -กรกฏาคม  การผสมพันธ์ของปูน้ำจืด ที่พบในบ่อซีเมนต์ เพศเมียจะหงายส่วนท้องขึ้น และเปิดจับปิ้งออก ส่วนเพศผู้จะขึ้นทับข้างบน พร้อมกับเปิดจับปิ้งออก และสอดขาเดินเข้าไปในส่วนท้อง ของเพศเมียเพื่อปล่อยน้ำเชื้อ ไปไว้ในบริเวณถุงเก็บน้ำเชื้อ ที่อยู่ระหว่างจับปิ้ง กับอวัยะวะช่วยสืบพันธ์ ความดกของไข่ประมาณ 700 ฟองต่อตัว ปูชอบขุดรูในทุ่งนา คันนา คันคูหรือคันคลอง โดยจะอาศัยอยู่ไกล้แหล่งน้ำ และแหล่งอาหารซึ่งใช้เป็น ปัจจัยพื้นฐานที่ใช้ในการดำรงชีวิต ตำแหน่งและลักษณะของรูของปูนานั้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยส่วนใหญ่พื้นที่ที่ปูขุดรูนั้น จะอยู่บริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง โดยตำแหน่งของรูปูจะเอียงเล็กน้อย โดยปากรูจะอยูเหนือน้ำ หรือต่ำกว่าน้ำเล็กน้อย  เพื่อสะดวกในการเข้าออก รูปูจะเอียงทำมุมประมาณ 30 - 60 องศา กับแนวระดับ ส่วนใหญ่แล้วรูปูจะตรง ไม่คดเคี้ยว ในบริเวณที่มีความชื้นสูง หรือบริเวณที่มีน้ำตื้นมาก รูปูจะอยู่ไม่ลึกนัก และจะขนานไปกับพื้นดิน





                                     วิธีการเลี้ยงปูนา
                    

                                                       ( การเตรียมบ่อเลี้ยง )




การเลี้ยงปูนานั้นสามารถเลี้ยงได้ทั้ง ในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ แต่พบว่าการเลี้ยงปูในบ่อซีเมนต์นั้นจะดีกว่าตรงที่สะดวกในการดูแลและเก็บผลผลิต นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันปูขุดรูหนี บ่อซีเมนต์ที่ใช้ในการเลี้ยงปูนานั้นมี 2 ประเภท บ่อกลมและบ่อเหลี่ยม หากผู้สนใจต้องการทดลองเลี้ยงดูก่อนว่าสามารถ เลี้ยงปูได้หรือไม่ ก็ควรจะเลี้ยงในบ่อกลมก่อน บ่อกลมก็คือการนำท่อซีเมนต์ (ท่อที่ใช้ทำถังส้วม) มาเทปูนทางด้านล่าง ใส่ท่อพีวีซีด้านใดด้านหนึ่ง  เพื่อสะดวกต่อการถ่ายน้ำ ใส่ดินลงไปและปลูกพืชน้ำ นำปูตัวผู้และตัวเมียมาปล่อยลงไปในบ่อเลี้ยง บ่อละประมาณ 10 - 15 ตัว อย่าใส่ปูในบ่อมากนักเพราะปูจะกัดกันเอง ปูตัวใหนที่ขาหลุด ขาหนีบหลุดให้เก็บออก เพราะจะถูกปูตัวอื่นมารุมทำร้าย ส่วนบ่อสีเหลี่ยมนั้น อาจใช้บ่อเก่าที่เคยเลี้ยงปลา และอาจจะทำบ่อใหม่โดยใช้อิฐบล็อคมาก่อใหม่  กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร หรือสูง 1 เมตร หรือปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ แต่อย่าให้สูงมากนัก เพราะจะไม่สะดวกต่อการดูแล และเก็บผลผลิต ใสท่อระบายน้ำไปด้วยเพราะจะสะดวกต่อการทำความสะอาด ในบ่อนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนหนึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของปู  โดยการนำเอาดินร่วนปนเหนียม หรือดินตามทุ่งนามาใส่ไว้สูงประมาณ 30 เซนติเมตรของขอบบ่อ โดยการทำให้เอียงลง ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่เป็นน้ำ ทำโดยลอกเลียนแบบธรรมชาติ ของแหล่งที่อยู่ เช่นมีก่อข้าวและพืชน้ำ เช่นผักบุ้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการสังเกตุ การเลี้ยงปูในบ่อซีเมนต์ ปูสามารถมีชีวิตอยู่ได้ อย่างดีแม้ไม่ได้ใส่น้ำลงไปในบ่อ




ปูนาจะขุดรู เป็นที่อยู่อาศัย และจะออกหากิน โดยจะกินเศษซากที่เน่าเปื่อย ของต้นข้าว หรือซากลูกปลาขนาดเล็ก การเลี้่ยงในบ่อซีเมนต์พบว่า ปูนาหัดให้กินอาหารเม็ดปลาดุกได้ หรือใช้เศษข้าวสวยให้เป็นอาหาร ที่อยู่อาศัยของปูในส่วนที่เป็นดิน ต้องหมั่นดูแลทำความสะอาด คือเศษอาหารที่เหลือจากปูกินแล้ว ถ้าทิ้งไว้นาน ๆ ไม่ทำความสะอาด จะเกิดเชื้อรา ดังนั้นจึงต้องเก็บออก ช่วงเก็บผลผลิตควรเป็นหน้าหนาว เพราะช่วงนี้ปูจะขุดรูอยู่ตามท้องนา หาได้ยาก และบางพื้นที่ ที่มีการใช้ปุ๋ยเคมี หรีอยาปราบศรัตรูพีชเยอะ  ๆ ปูจะตาย หรือไม่ก็จะมีการสะสมสานพิษในตัวปู การนำปูมาแปรรูปเป็นอาหารก็จะทำให้ร่างการได้รับสารพิษ ทำให้ชีวิตไม่ปลอดภัย ส่วนการเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์ จะเป็นปูนาที่ปลอดสารพิษ และสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารได้ ไม่ว่าจะเป็นปูดอง หรือนำมาทำเป็นอาหารจำหน่าย เป็นรายได้เสริมอีกทาง ไม่ว่าจะทำเป็น ยำปูนา ลาบปู ทอดปูกรอบ และอุกะปู เป็นต้น



                                                       
                                                       การจำหน่ายปูนา





ช่วงเหมาะสมในการจำหน่ายปูนานั้น ควรเป็นช่วงฤดูหนาว เพราะเป็นช่วงที่ปูนานั้นหายาก ราคากิโลกรัมละ 50 บาท ในช่วงฤดูฝนช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน ปูจะมีราคาโลละ 15 บาท และมีแม่ค้ามารับซื้อปูถึงที่ โดยผู้เลี้ยงไม่ต้องนำปูไปจำหน่ายเอง อย่างไรก็ตามยังมีความต้องการปูนาอีกมากในท้องตลาด เหมาะแก่การพัฒนาเป็นอาชีพได้ จบเรียบร้อยสำหรับการเลี้ยงปูนา ท่านที่สนใจลองเลี้ยงดูนะครับเผื่อเป็นอีกช่องทางสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำสร้างรายได้เสิรมเพิ่มเงินในกระเป๋าของท่าน แอดมันหวังเป็นอย่างยิ่ง การเลี้ยงปูในบ่อซีเมนต์นี้จะเป็นตัวจุดประกายความหวังผู้ที่มองหาอาชีพเสริม รายได้เสริม  สามารถต่อยอดเสริมสร้างอาชีพ เสริมสร้างรายได้ ให้แก่ครัวเรือนของท่านอีกช่องทางหนึ่ง

*****************************************************************************************************
 photo tangan_zpsyxegueil.gif



*****************************************************************************************************
*****************************************************************************************************

Share this

Related Posts

Previous
Next Post »

Banner adz